วิสัยทัศน์/พันธกิจ


วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
"องค์กรที่มุ่งพัฒนา ชาวประชามีส่วนร่วม เป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจ เพื่อชีวิตที่มีคุณภาพ"

พันธกิจ

          พันธกิจที่ 1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน  และให้เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน
        
            พันธกิจที่ 2   ด้านเศรษฐกิจ การเกษตรและการท่องเที่ยว ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มผลผลิต การยกระดับคุณภาพผลผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม  การลงทุน การจัดจำหน่าย  และการท่องเที่ยว โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความอยู่ดีกินดีและมีความมั่นคงในชีวิต

          พันธกิจที่ 3   ด้านสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสังคมให้น่าอยู่ มีความเข้มแข็งปลอดจากยาเสพติด ประชาชนมีส่วนร่วม  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มให้ดีขึ้น  รวมทั้งการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการบริการขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

          พันธกิจที่ 4   ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น  ทำนุบำรุงศาสนา รักษาเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม  สภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรม โบราณสถาน และแหล่งประวัติศาสตร์ รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงอยู่และสืบทอดต่อไป
      
          พันธกิจที่ 5 
 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน เพื่อสร้างความสมดุลโดยใช้แนวทางการจัดการแบบบูรณาการ และให้ชุมชนเป็นฐานแห่งการพัฒนา
        
          พันธกิจที่ 6 
 ด้านการศึกษา และการกีฬา โดยการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก เยาวชน  เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในทุกระบบและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส  รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน สนับสนุนและส่งเสริมการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
        
          พันธกิจที่ 7 
 ด้านสาธารณสุขและการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน  ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานสาธารณสุขในท้องถิ่น  ให้ประชาชนได้รับการบริการขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง  และเพียงพอ โดยใช้แนวทางการจัดการแบบบูรณาการ
            พันธกิจที่ 8   ด้านการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างมีส่วนร่วม  บริหารงานด้วยความรวดเร็ว โปร่งใสโดยยึดฐานวัฒนธรรมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรภายในองค์กร

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน  ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
1.1  พัฒนาระบบการจัดทำผังเมืองรวม
1.2  พัฒนาและจัดหาแหล่งน้ำ
1.3  พัฒนาเส้นทางคมนาคม และขนส่ง
1.4  พัฒนาระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เกษตรและการท่องเที่ยว  มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
2.1  ส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ และของดีเมืองลำพูน
2.2  ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ประชาชน
2.3  พัฒนาสถานที่แสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น
2.4  ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
2.5  ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวทั้งระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาด้านสังคม และคุณภาพชีวิต มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
3.1  ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชน
3.2 พัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน
3.3  สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และอาชญากรรม
3.4  ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามวิถีประชาธิปไตย

ยุทธศาสตร์ที่ 4 :  การพัฒนาด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น   มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 

4.1  อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.2  ส่งเสริมศาสนา  ศีลธรรม  คุณธรรม  และจริยธรรม
4.3  อนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  และสถานที่สำคัญ
ยุทธศาสตร์ที่ 5:  การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   มีแนวทางการพัฒนา ดังน
ี้

5.1  ฟื้นฟู อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2  การส่งเสริมการมีส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งพลังงานทดแทน
5.3  การบริหารจัดการขยะมูลฝอย  สิ่งปฏิกูล และน้ำเสียในชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาด้านการศึกษา และกีฬา  มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

6.1 ส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาทุกระบบ  และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
6.2 ส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นฐานแห่งการพัฒนา  
6.3 ส่งเสริมการศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน
6.4 สนับสนุนและส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการในท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 7 :  การพัฒนาด้านสาธารณสุขและการเสริมสร้างสุขภาพประชาชน  มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
7.1 พัฒนาคุณภาพการให้บริการสุขภาพทั้งระบบ
7.2 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชน
7.3  ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 8 :  การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 

8.1  พัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
8.2  พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กร
8.3  พัฒนาการจัดทำระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น 
8.4 พัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานและการให้บริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้